ในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 บริษัทอินโนเวทีฟเอ็กซ์ตรีมิสต์และบริษัทไบต์อาร์ค โดยคุณคเชนทร์ หวังธรรมมั่ง ผู้บริหารบริษัท มอบเซิร์ฟเวอร์ จำนวน 5 เครื่องพร้อมฮาร์ดดิสก์และจอภาพให้แก่สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็นวัสดุฝึกสำหรับนักศึกษาในปฏิบัติการต่าง ๆ 

f05ebaf9 bc1a 4ca2 aaa3 8eaa5f3e2d3e

83c3f4b6 ffb0 4504 a621 bc7b45561d25

9d4c412c 09d7 4302 b44b b324cf1877d9

ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลดีเลิศ ในด้าน Smart Governance ในโครงการประกวดระบบบริการเมืองอัจฉริยะดีเด่น ประจำปี 2566 หรือ SMART CITY SOLUTIONS Awards 2023 ซึ่งจัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)  จากผลงาน ซอฟต์แวร์บริหารงานค่าธรรมเนียมอัจฉริยะ ของเทศบาลนครภูเก็ต ร่วมกับ บริษัท ร่วมพัฒนาเมือง จำกัด และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดผลงานที่ได้จากทุนวิจัยจาก บพข. (หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ) 

โครงการประกวดระบบบริการเมืองอัจฉริยะดีเด่น ประจำปี 2566 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดตัวอย่างของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ซึ่งระบบนั้น ๆ ต้องดำเนินการมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน   

คณะทำงาน

  • ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
  • ผศ.ดร. ชนิษฎา ชูสุข จากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์
  • คุณปฐมพงศ์ วรเจริญ จากบริษัทร่วมพัฒนาเมือง จำกัด
  • นายสาโรจน์ อังคณาพิลาส นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทีม CyberSilk สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน  Huawei ICT Competition 2023-2024

การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 Tracks คือ Network, Cloud, และ Computing406680388 n

ทีมละ 3 คน ผู้ชนะจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และระดับโลก

โดยมีทีมที่สมัครเข้าร่วมการแข่งขันกว่า 120 ทีม และเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เป็นการแข่งขันรอบคัดเลือก และทีม CyberSilk ผ่านเข้ารอบการแข่งขันเป็นอันดับ 5 จากทั้งหมด 40 กว่าทีม

สมาชิกในทีม:

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3

6410110062 นายจักรกฤษ ศรีงาม

6410110082 นางสาว เจนนรินทร์ เพียรจิตต์

6410110242 นายนพดล จันทรางกูร

Track  ที่เข้าร่วม: Network

1000010345

รอบระดับประเทศ  จัดการแข่งขันที่ Bootcamp@Bangkok ในวันที่ 20 ธันวาคม 2566

Link: https://e.huawei.com/en/talent/ict-academy/#/ict-contest?compId=85131993

ผลการแข่งขันรอบระดับประเทศ ได้อันดับที่ 4

huawei ict 2023

 

huaweiCFC

รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะได้รับประกาศนียบัตรรับรองสมรรถนะอาจารย์ด้านการเรียนการสอนตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ Thailand-PSF ระดับที่ 3 Senior Fellowship จากสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สมาคม ควอท) หรือ Professional and Organizational Development Network of Thailand Higher Education ในโครงการฝึกอบรม หลักสูตร “วิทยากรแกนนำด้านการจัดการเรียนการสอนตามกรอบ UK PSF”

ความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มีนโยบายในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอน และการวิจัย โดยให้มีการจัดตั้งเป็นเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา และประสานความร่วมมือกับ Dr. L. Dee Fink, Director, Instructional Development Program, University of Oklahoma และ ประธาน Professional and Organizational Development Network in Higher Education (Pod Network) ซึ่งเข้าพบรักษาการเลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 เพื่อหารือและนำเสนอกิจกรรมของเครือข่ายการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์ระดับอุดมศึกษา (Pod Network) ของสหรัฐอเมริกา อันเป็นเครือข่ายของความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาต่างๆประมาณ 1,200 สถาบัน มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาอาจารย์และองค์กร เพื่อปรับปรุงเทคนิคในการเรียนการสอน และกระตุ้นอาจารย์ผู้สอน ให้ปรับปรุงพัฒนารูปแบบและวิธีการสอนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยี เป้าหมาย คือ ให้นักศึกษามีพัฒนาการเรียนรู้ได้ดีขึ้น

เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทย มีผลทำให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงไปสู่เส้นทางการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในทุกระดับ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษา ให้มีคุณภาพ ทันสมัย เหมาะสมกับยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศ  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนา และปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ผลักดันให้มีสมาคมเครือข่ายพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย  (Professional and Organizational Development Network in Higher Education) เรียกโดยย่อว่า ควอท : ThaiPOD Network โดยมีสถาบันอุดมศึกษา 5 แห่งเป็นผู้ก่อตั้ง ดังนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ดังกล่าว

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะทรัพยากรธรรมชาติ จัดโครงการอบรมระยะสั้นทางด้านเกษตรอัจฉริยะ (Winter School on Smart Agriculture) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับ Czech University of Life Sciences Prague (CZU) สาธารณรัฐเช็ก ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม 2566 - 17 พฤศจิกายน 2566 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้แก่นักศึกษาระดับปริญญาเอกจากสาธารณรัฐเช็ก

ของ Faculty of Engineering, CZU และนักศึกษาของคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้เปิดการอบรม และ Campus tour ไปแล้วเมื่อวันที่ วันที่ 30 ต.ค. 66 ณ คณะทรัพยากรธรรมชาติ และวันที่ 2–5 พ.ย. 66 นักศึกษาได้ไปศึกษาดูงานและเก็บข้อมูลทางการเกษตร เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอ (pitching) พร้อมทั้งศึกษาวัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งท่องเที่ยวของท้องถิ่นที่สำคัญในแต่ละจังหวัด ปิดท้ายด้วยกิจกรรม Pitching ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 17 พ.ย.66 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมดงยาง 1 

ในส่วนของกิจกรรมนี้ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดอบรมหัวข้อวิทยาการข้อมูลให้กับนักศึกษาในโครงการในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 โดยมีนักศึกษาสาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์เข้าร่วมโครงการจำนวน 2 คน 

หัวข้อบรรยายและปฏิบัติการ ช่วงเช้า Introduction to Artificial Intelligence ช่วงบ่าย Data Visualization and Presentation โดยมีวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรคือ ดร.อนันท์ ชุกสุริวงศ์ ผศ.ดร.เพ็ชรัตน์ สุริยะไชย และรศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์

นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม

1. นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3

2. นายจักรภัทร สุวรรณพงศ์  สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3

  

 

401508905 846786833906356 6916123614374602760 n

 

สองผลงานด้านปัญญาประดิษฐ์ของ ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2567

S 575340547

ผลงานที่ 1 เรื่อง “หุ่นจำลองมดลูกอัจฉริยะจากยางธรรมชาติร่วมกับปัญญาประดิษฐ์หรับการทำหัตถการทางนรีเวชเสมือนจริง”

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาการศึกษา

คณะทำงาน

ผศ.นพ.ชัยณรงค์ โชคสุชาติคณะแพทยศาสตร์

รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์

ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

C1

ผลงานที่ 2 เรื่อง “หุ่นจำลองเด็กทารกจากจากยางธรรมชาติพร้อมปัญญาประดิษฐ์ประเมินผลอัจฉริยะสำหรับการฝึกทำ CPR"

รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา

คณะทำงาน

ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์

นางสาวจิรารัตน์ พร้อมมูล

C2

Page 8 of 22
Go to top