ทีม 164_ไข่นุ้ย นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขัน ThaiLLM Safety Red Teaming Challenge ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท

สมาชิกทีม 164_ไข่นุ้ย ประกอบด้วย

1. นายกันต์กวี รามศรี      รหัสนักศึกษา 6610110408 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 
2. นายพีรณัฐ ฉุ้นฮก        รหัสนักศึกษา 6710110295 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 
3. นายธีรภัทร พรมชัยศรี  รหัสนักศึกษา 6710110589 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 

การแข่งขัน Thai LLM Safety Red Teaming Challenge จัดภายใต้โครงการ AI Thailand Benchmark Programs 2025 ระหว่างวันที่ 26 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน 2568  โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)

การแข่งขัน ThaiLLM Safety Red Teaming Challenge มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาจุดอ่อนของ LLM ในบริบทไทย และ พัฒนาความรู้เรื่อง Bias และ Safety ของ AI การแข่งขันมีระยะเวลา 3 วัน โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้อง ส่ง Prompt ภาษาไทยเท่านั้น

กติกาและระบบคะแนน:

  • ช่วงส่ง Prompt นับคะแนน: 13 มิ.ย. 68 (09.00 น.) - 15 มิ.ย. 68 (21.00 น.)
  • ข้อจำกัด: ทีมละ 100 Prompt / ชั่วโมง
  • Morning Rush: 06.00-08.00 น.
  • คะแนน: Flag ถูกได้คะแนน, Flag ผิดติดลบ

การแข่งขันครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักศึกษาทั่วประเทศได้ร่วมกันออกแบบโจทย์และสถานการณ์เพื่อ “ท้าทาย” ความสามารถของโมเดลภาษาไทยในบริบทที่อาจเกิดความเสี่ยง (Red Teaming) เช่น การให้ข้อมูลผิดพลาด ข้อมูลอ่อนไหว หรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ AI ก่อนนำไปใช้จริง และผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับบริบทของภาษาไทย ความสำเร็จของทีมสะท้อนถึงทักษะด้านเทคนิคและศักยภาพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยเฉพาะในด้านการทดสอบและยกระดับความปลอดภัยของโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ (Thai Large Language Models)

T10

F7

R6

R5

 

 

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกัน บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ได้จัดการแข่งขัน Cyber Warrior Hackathon 2025  โดยรอบแรก จัดการแข่งขันไปแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568  และ รอบ 2 รอบรับข้อเสนอโครงการ  ประกาศผลในวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ในรูปแบบออนไลน์และผลจากการแข่งขัน ปรากฎว่า ทีม SoftShells และ Lazy ToPatch ซึ่งเป็นทีมนักศึกษาสังกัดสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้ผ่านการคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ (รอบ 3) โดยมีกำหนดการแข่งขัน ในระหว่าง วันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ สยามพารากอน กรุงเทพมหานคร

รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T063 SoftShells 

  1. นางสาวซิลมีย์ ปะหนัน           รหัสนักศึกษา   6510110116  หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  2. นายป่าปัญญา สิริวัฒนาวรกุล  รหัสนักศึกษา   6510110274  หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  3. นางสาวภูริชฐญา ขุนแดง        รหัสนักศึกษา   6510110365 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  4. นางสาวสินายน์ สุนทร             รหัสนักศึกษา   6510110492 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 
  5. นายอดิเทพ แบบเหมือน          รหัสนักศึกษา   6510110510 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

รายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ทีม T034 Lazy ToPatch

  1. นางสาวกิ่งดาว ขนานขาว         รหัสนักศึกษา   6510110035 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  2. นายศิวกร น้อยหรำ                  รหัสนักศึกษา   6510110465 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  3. นายกรวิชญ์ คงคล้าย               รหัสนักศึกษา   6710110006 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  4. นายเพชรฌานันท์ สุวรรณรักษ์  รหัสนักศึกษา   6710110298 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

อาจารย์ที่ปรึกษา 

รองศาสตราจารย์ ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ

ประกาศทีมที่เข้ารอบรองชนะเลิศ (Hackathon) 30 ทีมสุดท้าย ผ่านเว็บไซต์ https://cyberwarrior2025.io/announcement-hackathon

รายละเอียดกิจกรรม

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ตำรวจไซเบอร์ ได้ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภาคเอกชน อาทิ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด หรือ AIS, มูลนิธิพระราหู, บริษัท Security pitch จำกัด และหน่วยงานอื่นๆ ได้ร่วมกันเปิดโครงการ Cyber Warrior Hackathon 2025 ณ ห้องฟีนิกซ์ 1-6 อาคารศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยโครงการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 มิ.ย. – 21 ก.ค.68

โครงการนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีแข่งขันด้านการเขียนโปรแกรมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ สำหรับนักศึกษาทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “นักรบไซเบอร์” รุ่นใหม่ที่มีศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามในยุคดิจิทัล ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ในสถานการณ์ที่ใกล้เคียงกับภารกิจจริงของตำรวจไซเบอร์
พร้อมทั้งยกระดับทักษะและความรู้ในด้านนี้ และปลูกฝังความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยไซเบอร์ให้แก่เยาวชนไทย

อีกทั้ง ยังเป็นการเชื่อมโยงกลุ่มนักศึกษากับเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงไซเบอร์ สร้างความร่วมมือที่เข้มแข็ง พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในอนาคต และโครงการดังกล่าวยังสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อสร้างรากฐานที่ยั่งยืนให้กับสังคมและประเทศ และยังส่งเสริมให้เยาวชนไทยมีทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัล เพื่อมีส่วนร่วมในการปกป้องประเทศจากภัยคุกคามไซเบอร์

สำหรับกิจกรรมสำคัญในโครงการ ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

– Cyber Crime Talk: การบรรยายพิเศษโดยตำรวจไซเบอร์ พร้อมกรณีศึกษาที่น่าสนใจ และข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มของอาชญากรรมไซเบอร์ในปัจจุบัน

– Cyber Crime Workshops: กิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะด้านการสืบสวนดิจิทัล เช่น Digital Forensics, Blockchain Analysis และ OSINT Investigation โดยใช้ทั้งเครื่องมือโอเพนซอร์ส
และเครื่องมือพิเศษเฉพาะทาง

– Cyber Warrior Hackathon: การแข่งขันแบบทีม ระยะเวลา 3 วันเต็ม ระหว่างวันที่ 19 – 21 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมพินิจวิทัศน์ ชั้น 14 อาคารการเรียนรู้พหุวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยเน้นการพัฒนาแนวทางหรือโปรแกรมที่ใช้ในการตรวจจับ สืบสวน และป้องกันภัยไซเบอร์

ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการอบรมตามหลักสูตรด้าน Cybersecurity พร้อมใบประกาศนียบัตร Non-Degree จากความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มจธ. และตำรวจไซเบอร์ อีกทั้งยังได้รับสถานะเป็นอาสาสมัคร “Cyber Eyes” ในเครือข่ายของ บช.สอท. และเป็นสมาชิกในระบบ “oneKMUTT” แพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตของมหาวิทยาลัย

ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันมีสิทธิ์เข้าร่วมฝึกประสบการณ์ทำงานจริงกับตำรวจไซเบอร์ รวมถึงประกาศนียบัตร Cyber Warrior พร้อมโอกาสต่อยอดผลงานสู่งานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน และมีโอกาสชิงเงินรางวัล รวมมูลค่ากว่า 260,000 บาท

โดยรายละเอียดของรางวัลมีดังนี้:

  • รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 100,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 50,000 บาท
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล มูลค่า 30,000 บาท
  • รางวัลชมเชย จำนวน 7 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท รวมเป็นเงิน 70,000 บาท

โดยการแข่งขันในปีนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศ มีนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันถึง 520 คน จาก 36 สถาบัน รวมทั้งสิ้น จำนวน 110 ทีม

ภายหลังการอบรม ผู้เข้าร่วมจะได้นำเสนอข้อเสนอโครงการเพื่อลุ้นเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขัน Hackathon โดย 10 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จะได้ขึ้นเวทีนำเสนอผลงานในวัน Pitching Day ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 เวลา 13.00–18.30 น. ณ SCBX NEXT TECH ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมรับฟังด้วย

DSC 5356 1200x515

Panorama 1200x383

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมกิจกรรม CTF Boot Camp ซึ่งเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่จัดขึ้นสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาและระดับอุดมศึกษา กิจกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับเส้นทางอาชีพด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้ และลงมือปฏิบัติจริงผ่านการแข่งขันต่าง ๆ  กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจและพัฒนาศักยภาพของรุ่นใหม่ในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ 
 
สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ CTF Boot Camp 2025 รุ่น 2 Part 8 และแนะแนวอาชีพทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ภายใต้กิจกรรมการสร้างความตระหนักรู้และพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Top Talent) และแนะแนวอาชีพทางด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ในระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคม พ.ศ. 2568 ณ ห้องประชุมประกายกาญจน์ ชั้น 2 เฟส 2 โรงแรมคริสตัล หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 
 
CTF1
CTF2
CTF3
CTF4
CTF8
CTF5 CTF7
 
 

นายกริสนันต์ อามะ รหัสนักศึกษา 6310110011 นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้รับรางวัลรองดีเด่นอันดับ 1 ประเภทนักศึกษา CWIE ที่มีโครงงาน/ผลการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมดีเด่นระดับชาติประจำปี พ.ศ. 2568 จากกระทรวงอุดมศึกษา วิทนาศ่สตร์ วิจัยและนวัตกรรม 

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย

ชื่อโครงงาน: 3D Creator for the Blind

สถานประกอบการออกปฏิบัติงาน: บริษัท พีเอสยูดอลพินส์ จำกัด

กระทรวงอุดมศึกษา วิทนาศ่สตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทยและเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (เครือข่าย CWIE) ภาคเหนือตอนบน เป็นเจ้าภาพจัดงานวันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน (CWIE Day) ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2568 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมเชียงใหม่แมริออท จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและยกย่องเชิดชูผลงานต้นแบบจากสถาบันต่าง ๆ ที่มีบทบาทโดดเด่นในการขับเคลื่อน CWIE สู่ความสำเร็จระดับชาติ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "CWIE for Empowering People in the AI Era : CWIE เสริมพลังคนรุ่นใหม่ในยุค AI ก้าวไกลสู่อนาคต"

 

ผศ.ดร.วัชรินทร์ แก้วอภิชัย เข้าร่วมรายการแลบ้านแลเมือง ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2568 เรื่อง โครงการสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกไฟฟ้าในภาคการขนส่งและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคใต้
โดยมีคณะวิทยากรผู้ให้สัมภาษณ์คือ
1. ผศ.สาวิตร์ ตัณฑนุช ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ผศ.ดร.วัชรินทร์ แก้วอภิชัย รองผู้อำนวยการศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า และ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. คุณจรัสชัย เจริญพานิช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชัยเจริญรัตน์ 2024 จำกัด

ลิงค์วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=sVbxKOP6kbI

นอกจากนี้ ผศ.ดร.วัชรินทร์ แก้วอภิชัย เข้าร่วมรายการ สถานีวิทยุ ม.อ.หาดใหญ่ - PSU Broadcast เครือข่ายสายตรงวิทยุสถาบัน
ในวันอังคารที่ 1 กรกฎาคม 2568 ช่วงที่ 3 | สนทนาสถาบัน
ประเด็น : ความร่วมมือการนวัตกรรมยานยนต์ และ โครงการสัมมนาให้ความรู้เกี่ยวกับรถบรรทุกไฟฟ้าในภาคการขนส่งและสิ่งแวดล้อมในเขตภาคใต้
วิทยากร :
1. ผศ.ดร. วชรินทร์ แก้วอภิชัย รอง ผอ. ศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนันต์ชัย อยู่แก้ว รองคณบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร หัวหน้าศูนย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมยานยนต์
3. ดร.ต้าย บัณฑิศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
 
ลิงค์วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=XcROYczhvOw
 
วิทยุมอ

นางสาวพิชาภัทร แซ่หลี รหัสนักศึกษา 6510110315 นักศึกษาชั้นปีที่  4 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษา Canada-ASEAN Scholarships and Educational Exchanges for Development (SEED) เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยระยะสั้น ณ Brock University ประเทศแคนาดา ตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม 2568

 

 

Page 1 of 28
Go to top