ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ร่วมเป็นวิทยากรในงาน AWS ISV Community Day ณ อาคาร  Singha Complex  ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ในวันที่ 16 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 9.00-12.00 น. 
 
ในงานนี้ ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ได้แนะนำ GenAI, multimodal model และ Agentic AI  และผลักดันการสร้างเครือข่าย ISV Community สำหรับอุตสาหกรรม AI ในประเทศไทย ร่วมกับ AWS  และวิทยากร ดร.วินน์ วรวุฒิคุณชัย ซึ่งเป็น Chief Executive Officer (CEO) จาก  iBOTNOI และ กรรมการสมาคมผู้ประกอบการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIEAT)
 
AWS ISV Community  คือ เครือข่ายผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendor: ISV) ที่ให้บริการบนระบบคลาวด์ของ AWS
 

ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendor: ISV) คือองค์กรที่สร้างและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการพื้นฐาน โซลูชันซอฟต์แวร์โดยทั่วไปจะแก้ไขปัญหาเฉพาะของลูกค้า เช่น การสร้างและจัดการข้อมูลการขายหรือทางการเงิน นอกจากนี้ ยังอาจเป็นซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการจัดเก็บข้อมูล ความปลอดภัย หรือการรับรองความถูกต้อง ผู้จำหน่ายรับประกันความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์กับแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าที่กว้างขวาง 

ISV ขายซอฟต์แวร์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตถาวร ข้อตกลงระยะเวลา หรือ Software as a Service (SaaS) ซอฟต์แวร์ได้รับอนุญาตให้แก่ลูกค้า แต่สิทธิ์ความเป็นเจ้าของยังคงเป็นของ ISV  ซอฟต์แวร์มีความทั่วไปเพียงพอที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ได้ในโดเมน อุตสาหกรรม และแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ISV ได้แก่ โซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบบการจองโซลูชันการรวมข้อมูล และอื่นๆ

S 1744989 S 1744990

S 1745003 0 

S 1745005 0 S 1745004 0

 

 
ผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และ ผศ.ดร.สกุณา เจริญปัญญาศักดิ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมจัดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ  “AI for Next Gen – พลิกโฉมท่องเที่ยวยุคใหม่ด้วย AI”  ซึ่งเป็นงานผนึกกำลังมหาวิทยาลัย-เอกชน ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระหว่างวันที่ 24–25 พฤษภาคม 2568  โดยมีนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน ณ Blockchain Technology Center (BTC Space) จังหวัดภูเก็ต
งานนี้จัดโดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute) เครือข่ายมหาวิทยาลัย และเครือข่ายภาคเอกชน
 
ผู้มีเกียรติร่วมงาน ได้แก่  
  • รศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มอ.วิทยาเขตภูเก็ต
  • นายรังสิมันตุ์ กิ่งแก้ว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
  • นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล DEPA 
  • Assistant Professor Justin Paulsen มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
  • นายพูลศิริ วงศ์วิเศษกิจ Senior ISV Account Manager บริษัทอะเมซอน เว็บ เซอร์วิส
  • นายวีระเชฏฐ์ ไวทยานุวัตติ Manager, Cyber Security, Bangkok Airways
  • คุณกนกวรรณ บุญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ บริษัท ไทย ดิจิทัล แพลตฟอร์ม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
  • ผศ.ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล และประธานหลักสูตร AI and System Engineering (AISE) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 
ทั้งนี้มี ผู้บริหารเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน และนิสิต นักศึกษา เข้าร่วมกว่า 200 คน 
 
นอกจากนี้ ผศ.ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต ยังเป็นวิทยากรในเสวนาพิเศษ AI Talk: Local Wisdom x AI Power ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษถ่ายทอดประสบการณ์จากตัวแทนภาคธุรกิจไทยในการใช้งาน  AI และบทเรียน ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจากพื้นที่ภาคใต้ ในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 
 
นายศุภชัย กล่าวว่า รัฐมนตรี อว. นางสาวศุภมาส อิศรภักดี ได้ประกาศนโยบาย “อว. for AI” เพื่อขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้คนไทยสามารถ “สร้าง AI ได้ และใช้ AI เป็น” ผ่าน 3 แนวทางสำคัญ ได้แก่
1. AI for Education: นำ AI มาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำ
2. AI Workforce Development: พัฒนาบุคลากรที่มีทักษะด้าน AI เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน 
3. AI Innovation: ส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัยด้าน AI เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจและสังคม
โดยกระทรวง อว. ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรด้าน AI ให้ได้ไม่น้อยกว่า 30,000 คนภายใน 3 ปี ครอบคลุมทั้งนักวิจัย วิศวกร และบุคลากรทั่วไปที่ใช้ AI ได้ ซึ่งจะดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศในการออกแบบหลักสูตรที่เหมาะสม
การนำ AI มาขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่สามารถนำเข้าเม็ดเงินจำนวนมหาศาลให้กับประเทศได้ จะทำให้ประเทศยกระดับความสามารถในการแข่งขัน ยกตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี AI มาช่วยเรื่องการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว การเชื่อมโยงแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ทันสมัยกับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม ร้านอาหาร เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยว Net Zero Tourism การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง หรือการท่องเที่ยวมูลค่าสูง ผ่านเทคโนโลยี Travel Advisor ด้วย AI เป็นต้น
โดยคาดว่าว่ากิจกรรม “AI for Next Gen – พลิกโฉมท่องเที่ยวยุคใหม่ด้วย AI” นี้ของทางกระทรวง อว. จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรมและเตรียมความพร้อมกำลังคนทางด้าน AI ต่อไป
 
การสัมมนาในครั้งนี้จัดขึ้น มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจและทักษะเชิงปฏิบัติในการใช้ AI ให้กับเยาวชน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 200 คน และตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 6 แห่งของไทย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง CMKL University และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยภายในงานมีการบรรยายพิเศษ การเสวนา “AI Talk: Local Wisdom x AI Power” นิทรรศการเทคโนโลยี AI จากหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงเวิร์กช็อปการใช้งาน AI สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว พร้อมกิจกรรมแข่งขันแนวคิด AI เพื่อการท่องเที่ยว ชิงเงินรางวัลรวมกว่า 45,000 บาท
 
 499973965 1155774083258910 2430277747488835063 n 499980825 1155774053258913 4935170758807941114 n
499964091 1155776773258641 7097628612288451619 n 500081627 1155774113258907 834729230107394990 n
500762601 1155776983258620 1096584345025591185 n 500420631 1155776669925318 1760994688863705104 n
messageImage 1747284878977 500740130 1155774019925583 5198690165499905434 n

คณะครูและนักเรียน IDN Boarding School ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายชั้นนำจากประเทศอินโดนีเซีย มุ่งเน้นด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จำนวน 77 คน เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์๋ วันพฤหัสที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
ทางสาขาวิชาฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกของสาขาวิชาฯ อย่างใกล้ชิด

498676574 1224973066087729 6819995181712821697 n

498694651 1224972852754417 2936765197077835338 n

498590582 1224973896087646 982778332445112265 n

499410222 1224973922754310 8080098160056552890 n

499205125 1224972996087736 6043473482509981614 n

 i2

i3

i8

i12

i7

i5

i9

 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ (รหัส 68) ที่ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้ โครงการ "การเตรียมความพร้อมนักศึกษาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์" ขึ้น ในระหว่าง วันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น ณ ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Laboratory) R300 และห้องสนามทดลองปัญญาประดิษฐ์ (AI Workshop) R302 

รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร หัวข้อ Digital Transformation Ethical and Security Issues ในการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.  2568 ของ สมาคมนวัตกรรมการพยาบาลและสุขภาพ  หรือ Nursing Innovation and Health Association (NIHA) โดยจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 11.00-12.00 น. ผ่านการประชุมซูมออนไลน์ 

498674695 9838390919531000 624776929710871139 n 1

โครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะการก่อตั้งธุรกิจ ในรูปแบบแนวคิดธุรกิจ (Idea Stage) ได้เป็น Finalist ได้รับเงินทุนสนับสนุน 200,000 บาท

ในวันที่  17 พฤษภาคม พ.ศ.  2568 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดกิจกรรมการตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage รอบ Final Pitching และกิจกรรมต่อยอดการสร้างเครือข่ายระดับประเทศ (Networking) พร้อมด้วยงานแถลงข่าวการสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพผ่านมาตรการ depa Digital Startup Fund ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สำนักงานใหญ่) ซอยลาดพร้าว เขตจตุจักร 10 โดยมี นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล depa เป็นประธานเปิดกิจกรรม และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นเข้าร่วมกิจกรรม โดยปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage ทั้งสิ้น 120 ทีมจาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ก่อนคัดเหลือ 45 ทีมผ่านเข้าสู่รอบ Final Pitching ในครั้งนี้ และคัดเลือกทีมที่มีศักยภาพโดดเด่น 26 ทีมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก depa ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund)

โครงการ Watermatic – ระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะสำหรับโรงแรม ผ่านเข้ารอบ Finalist ในโครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะ Idea Stage พร้อมได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบและต่อยอดสู่การใช้งานจริงในภาคธุรกิจ

ทีม Watermatic ประกอบด้วย

• CEO: นางสาวพิชชาภัทร์ แซ่หลี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

• CTO: นายสิริพงษ์ โชติรัตน์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

• COO: นางสาวนันท์นภัส ระวังงาน วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

5b0967f8 0ff0 424f 8b94 b3e0f2597bfe

29ce1966 11c4 42cd bdcf c78618e26104

c40f8c5e e6f2 4154 b4f7 57b20e845305
นอกจากนี้ depa ยังได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในการสร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับดิ
จิทัลสตาร์ทอัพระยะ Idea Stage ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดธุรกิจ การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการเชื่อมโยงกับนักลงทุนและตลาด พร้อมกันนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรสำคัญอย่าง บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) (G-Able) ที่สนับสนุนหลักสูตรและการทำ Boot Camp เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงอุทยานวิทยาศาสตร์ในแต่ละภูมิภาคที่ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการคัดเลือกในรอบภูมิภาคร่วมกับเหล่านักลงทุนจากบริษัท Venture Capital ชั้นนำ และสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ มีประสบการณ์ตรงในการทำธุรกิจ และพร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
 
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่าง ๆ จาก depa ได้ทาง www.depa.or.th, LINE OA: depaThailand และ Facebook Page: depa Thailand
 
 
Page 2 of 28
Go to top