นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 นำเสนอโครงงานย่อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา 240-371 ชุดวิชานักพัฒนาระบบไอโอที (IoT System Developer Module)  ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2566 ในวันที่ 21 เดือนมีนาคม  พ.ศ. 2567 

โดยอาจารย์ผู้สอนประจำชุดวิชา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุณา เจริญปัญญาศักดิ์ การจัดการเรียนการสอนประกอบด้วยทฤษฎีปฎิบัติการ และ โครงงานย่อย (small project)  และได้เชิญ บริษัทเอกชน และ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมเป็นกรรมการ ในการตัดสินชิ้นงาน ทั้ง 12 ชิ้นงาน

ทางผู้สอนได้ให้เวลาในการทำงานชิ้นนี้ ประมาณ 1 เดือน  นักศึกษามีความตั้งใจ ในการทำชิ้นงาน และได้รับคำชมจากทางบริษัทเอกชน ตัวอย่างผลงาน เช่น เครื่องให้อาหารสัตว์เลี้ยง เครื่องพยากรณ์อากาศ หุ่นยนต์ทำความสะอาด ตู้หนีบตุ๊กตา เครื่องวัด และเตือนการดื่มน้ำประจำวัน และถังขยะอัตโนมัติ เป็นต้น

S 33226808

S 33226810

S 33226811

S 33226813

S 33226814

S 33226815

S 33226819

S 33226818

S 33226817

S 33226816

 

คุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโสจาก Toyota Tsusho Nexty Electronics ให้เกียรติบรรยายออนไลน์เรื่อง Toyota Vehicle OS ให้กับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 และผู้สนใจ ในชุดวิชา วิศวกรสถาปัตยกรรมที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์  (Software-defined Architecture Engineer Module) และผู้สนใจทั่วไป ในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 8.00-11.00 น. 

C1

V Architecture

C4

C5

P4

 

 

การสอบนำเสนอรายวิชา 240-402 โครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาคการศึกษาที่ 2/2566 วันที่ 7 มีนาคม 2567 ณ อาคารเรียนและปฏิบัติการรวม (ตึกหุ่นยนต์) โดยในภาคการศึกษานี้ มีจำนวน 30 โครงงาน 
 

  1. Network monitoring systems for Prince of Songkla University
  2. Photo service management software
  3. Teaching programs for the deaf
  4. Enhancing the model for classifying sleep stages using PPG Signal
  5. Purchase Assistant
  6. Physical Resource Management System
  7. Chatbot for notifying and managing customer complaints
  8. Indoor Cartography & Navigation using SLAM on ROS
  9. Innovative smart medicine dispensing notification box for older people
  10. Automotive Agriculture With Pattern
  11. Pig feeder with IoT system
  12. Betta Macrostoma automatic aquarium care system
  13. Precision mushroom farming
  14. Fertilizer mixer and dispenser system for smart farm
  15. Robot trading with mql4
  16. ESP-23 (Electronic Saxophone with 23 keys)
  17. Bass Training Application
  18. PSU Red Connect
  19. AI for form recognition
  20. Restaurant management system
  21. Smart Oxygen Mask Selector with Mobile 3D Face Scanning
  22. Mobile application for taking medicine reminders
  23. Auto Service Management System
  24. Development of Web-based Application for Supporting Automatic Multiple-Choices Question Generation Mechanism
  25. Bot Herb
  26. Development of a No Code Programming application to check the time attendance system
  27. Smart queue management system for medical facilities
  28. Travel Together Application
  29. procurement system with Robotic Process Automation
  30. Web-based Application Development of multiple-choices Quiz system




คุณพีรวิชญ์ เจนพิทยา ศิษย์เก่าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ DevOps Engineer จากบริษัท Innovative Extremist (INOX) Co., Ltd. เป็นวิทยากรให้กับนักศึกษาในชุดวิชาวิศวกรสถาปัตยกรรมที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์  240-229 Software-defined Architecture Engineer Module จำนวน 77 คน และผู้สนใจทั่วไป โดยบรรยายในหัวข้อ  Hidden Costs of Cloud Computing .ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 10.00-11.00 น.

คุณพีรวิชญ์ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพดังต่อไปนี้

• Cisco Intro to Packet Tracer and IOT.
• AWS cloud practitioner 
• AWS solution architect

Capture14

Capture16

Capture20

Capture21

Capture31

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 24 คน เดินทางไปทัศนศึกษาเยี่ยมชม CMKL University และบริษัท Touch Technologies ที่กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 21-22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 

การทัศนศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 240-371 ชุดวิชานักพัฒนาระบบไอโอที (IoT System Developer Module) โดยอาจารย์หัวหน้าโครงการทัศนศึกษาคือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุณา เจริญปัญญาศักดิ์ และมีคุณไพบูลย์ บุญถวิล ช่างอิเล็กทรอนิกส์ และคุณวิมล คำจันทร์ นักกิจการนักศึกษาเป็นทีมงานร่วมเดินทางด้วย

CMKL ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง เป็นความร่วมมือระดับบัณฑิตศึกษาระหว่าง  Carnegie Mellon University (CMU) จากสหรัฐอเมริกา และ  King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (KMITL) โดยเปิดหลักสูตรแบบ  Double Degree ในสาขาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในระดับปริญญาโทและเอก และ Single Degree  ทางด้านปัญญาประดิษฐ์และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำเช่น  Thai Beverage, PTTEP, ฺBetagro, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, SEC, ETDA, KBTG, AIS  และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด อยู่ที่เขตห้วยขวาง เป็นบริษัทที่่ให้บริการ Solutions ทางด้านไอทีและโทรคมนาคม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการส่งออก  Department of Export Promotion (DEP) Thai Software Export Promotion (TSEP) สำนักงานส่งเสริมอุตสหากรรมซอฟต์แวร์ (Software Industry Promotion Agency (SIPA)

S 32383017

S 32383018

 

S 32383019

S 32383020

S 32383021

S 32383022

S 32383024

S 32383023

ขอเชิญน้อง ๆ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สมัครเข้าร่วมโครงการ It’s all about the Computer Engineer PSU ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22 – 26 เมษายน พ.ศ. 2567

โปสเตอร์

Page 1 of 17
Go to top