สองผลงานด้านปัญญาประดิษฐ์ของ ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติประจำปี 2567
ผลงานที่ 1 เรื่อง “หุ่นจำลองมดลูกอัจฉริยะจากยางธรรมชาติร่วมกับปัญญาประดิษฐ์หรับการทำหัตถการทางนรีเวชเสมือนจริง”
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับดี สาขาการศึกษา
คณะทำงาน
ผศ.นพ.ชัยณรงค์ โชคสุชาติคณะแพทยศาสตร์
รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผลงานที่ 2 เรื่อง “หุ่นจำลองเด็กทารกจากจากยางธรรมชาติพร้อมปัญญาประดิษฐ์ประเมินผลอัจฉริยะสำหรับการฝึกทำ CPR"
รางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ระดับประกาศเกียรติคุณ สาขาการศึกษา
คณะทำงาน
ดร.อนันท์ ชกสุริวงค์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
รศ.ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
นางสาวจิรารัตน์ พร้อมมูล
ทีม ChickenBuzz นักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เข้าร่วมการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2023 ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของประเทศไทย จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2023
การแข่งขันนี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 2,323 คน จาก 831 ทีม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ Junior, Senior และ Open หรือ
- ระดับมัธยมศึกษา เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตอนปลาย หรือเทียบเท่า สังกัดโรงเรียนหรือสถาบันในประเทศไทย
- ระดับอุดมศึกษา เป็นนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า สังกัดมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในประเทศไทย อายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ลงทะเบียนสมัคร
- ระดับประชาชนทั่วไป เป็นหน่วยงาน CII หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปสัญชาติไทย
รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ
รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
- Web Application
- Digital Forensic
- Reverse Engineering
- Network Security
- Mobile Security
- Programming
- Cryptography
รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี
เกณฑ์การคัดเลือก : คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุดจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีม
สมาชิกในทีม ChickenBuzz
- นายจตุรวิชญ์ ค่อฉุ้น รหัสนักศึกษา 6410110060 สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 3
- นายชนาวัฒน์ ทั้วสุภาพ รหัสนักศึกษา 6410110092 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 3
- นายนพเก้า ปัญจสุธารส รหัสนักศึกษา 6510110218 สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2
ทีม ChickenBuzz ผ่านการคัดเลือก เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 เป็น 1 ใน 2 ตัวแทนภาคใต้ ระดับ Senior ไปแข่งขันที่กรุงเทพฯ ซึ่งคัดเลือกจำนวน 10 ทีม จาก 354 ทีมทั่วประเทศ เว็บประกาศผลรอบคัดเลือก
ในรอบชิงชนะเลิศ วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 09:00 – 16:00 น. (ระยะเวลาการแข่งขันรวม 7 ชั่วโมง) ทีม ChickenBuzz ได้อันดับ 6 ประเภททีม และอันดับ 5 ประเภทบุคคล (นายชนาวัฒน์ ทั้วสุภาพ) ในระดับ Senior และได้รับรางวัลชมเชยระดับประเทศ