หลักสูตรของสาขาวิชาประกอบด้วย
- ปริญญาตรี 2 สาขา สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และสาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
- ปริญญาโท 1 สาขา สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- ปริญญาเอก 1 สาขา สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ทำไมต้องเรียนที่สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ม.อ.
สาขาวิชามุ่งเน้นผลลัพธ์ในการเสริมสร้างสมรรถนะที่จําเป็นต่อการเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต มีความรู้ที่ทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง มีทักษะในการปฎิบัติงานได้จริง อีกทั้งเป็นพลเมืองดีของชาติ รับผิดชอบต่อสังคม มีจิตสาธารณะ มีความคิดสร้างสรรค์อย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะชีวิตและสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างบัณฑิตให้มีสมรรถนะดังกล่าว การพัฒนาการจัดประสบการณ์เรียนรู้ในหลักสูตรจะมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต และมุ่งเน้นกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง
- เป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศ
- เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในภาคใต้ที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
- อาจารย์และนักศึกษามีผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง
- จัดการเรียนการสอนแบบโมดูลที่ประกอบด้วยทั้งทฤษฎีและปฏิบัติให้สามารถออกไปประกอบอาชีพในแขนงต่างๆได้
- นักศึกษาสามารถพบและเข้าหาอาจารย์ได้ง่ายกว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯและปริมณฑล
- สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในมหาวิทยาลัย อาคารสวย อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ อากาศดี มีอ่างเก็บน้ำและสวนสุขภาพ มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น รถบัส หอพัก โรง/ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ ปั๊มน้ำมัน WiFi
งานสำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
ผู้เรียนหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์มีงานรองรับทั้งในเอกชน รัฐวิสาหกิจ ราชการ หรือประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ได้หลากหลาย
ตัวอย่างอาชีพหลังสําเร็จการศึกษาของหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่
- วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineer) / วิศวกรระบบ (System Engineer)
- นักวิชาการ / นักวิจัยทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer Scientist and/or Researcher)
- วิศวกรซอฟต์แวร์/ ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ / นักพัฒนาโปรแกรม (Software Engineer / Software Developer / Programmer)
- ผู้ออกแบบ/พัฒนาเว็บไซต์ (Web Designer and Developer)
- วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนา/จัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสื่อสาร (Network and Communication Engineer)
- วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/บริหารและจัดการสถาปัตยกรรมคลาวด์เทคโนโลยี (Cloud Technology Architecture Engineer)
- นักออกแบบ/พัฒนาระบบสมองกลฝังตัวและไอโอที (Embedded system and IoT Developer)
- วิศวกรทดสอบระบบ (System Testing Engineer)
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network Administrator)
- วิศวกรข้อมูลและสถาปัตยกรรมข้อมูล (Data Engineer/Data Architect Engineer)
- นักพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI Developer) / วิศวกรปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineer)
- วิศวกรบูรณาการระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI System Integration Engineer) หรือ วิศวกรซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ (AI Software Engineer)
- วิศวกรการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning Engineer)
- วิศวกรข้อมูล (Data Engineer) หรือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
- วิศวกรเครื่องจักรวิทัศน์ (Machine Vision Engineer)
- วิศวกรระบบอัตโนมัติ (Automation Engineer)
- นักวิชาการ / นักวิจัยด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Scientist and/or AI Researcher)
- ผู้ประกอบการใหม่ หรือ Startup